หลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Education Program in Teaching Chinese Language |
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาจีน) |
ชื่อย่อ : | ศษ.บ. (การสอนภาษาจีน) |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Education (Teaching Chinese Language) |
ชื่อย่อ : | B.Ed. (Teaching Chinese Language) |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มุ่งเน้นการผลิตครูสอนภาษาจีนมืออาชีพยุคใหม่ ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะภาษาจีนให้แก่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรอบรู้ด้านภาษาจีน เรื่องเกี่ยวกับประเทศจีน วัฒนธรรมจีน เทคโนโลยี นวัตกรรม และศาสตร์แห่งความเป็นครู สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่อง ทันสมัย สร้างหลักสูตรและห้องเรียนภาษาจีนที่มีความสุขให้แก่ผู้เรียนที่หลากหลาย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังนี้
- สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียนและแปลภาษาจีน รวมทั้งทักษะใน ด้านการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัยต่อการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และบุคคลทั่วไป
- พัฒนาให้บัณฑิตมีทักษะการจัดการชั้นเรียน พัฒนาและวิเคราะห์หลักสูตร ออกแบบการเรียนการ สอนตลอดจนเป็นผู้สร้างสรรค์ ประเมิน และประยุกต์ใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การเรียนรู้
- พัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะและศักยภาพความเป็นประชากรที่สอดคล้องกับความต้องการในยุค เศรษฐกิจดิจิตอล ยุคแห่งศตวรรษที่ 21 และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการทำงาน ภายใต้บริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม โดยธำรงไว้ซึ่งคุณค่าความเป็นไทย
- สร้างบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตสาธารณะ สามารถร่วมมือกับชุมชนและผู้ปกครองใน การพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งมีจรรยาบรรณวิชาชีพครูและเจตคติที่ดีต่อการประกอบวิชาชีพครู
- สร้างบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ พัฒนาตนเองและวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง สามารถบูรณาการความรู้ กับศาสตร์ต่างๆ อีกทั้งมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- พัฒนาให้บัณฑิตมีศักยภาพในการค้นคว้าข้อมูล ติดต่อสื่อสาร และใช้กระบวนการวิจัยและ การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากช่องทางและสื่อที่หลากหลาย
แนวทางประกอบอาชีพ
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาจีน เช่น ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยด้านภาษาจีน นักการศึกษา นักออกแบบการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่บริหารประจำสถานศึกษา ครูสอนในสถาบันกวดวิชา หรืออาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาจีน
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- PLO1: มีจรรยาบรรณวิชาชีพครู เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม มีจิตสาธารณะ และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก สามารถถ่ายทอดค่านิยมที่ดีของไทยให้แก่นักเรียนได้
- PLO2: มีความรู้ภาษาจีนและมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาจีนในระดับ HSK5 (Hanyu Shuiping Kaoshi Chinese Proficiency Test) และมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม สังคม รวมถึงเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของจีน รอบรู้ด้าน ศาสตร์การสอนสำหรับผู้เรียนทั้งในและนอกระบบการศึกษา
- PLO3: บูรณาการความรู้ด้านการสอนภาษาจีนกับศาสตร์อื่นได้อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
- PLO4: สามารถปรับตัวเข้ากับการทำงานภายใต้บริบทพหุวัฒนธรรมและมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ
- PLO5: สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสืบค้นเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวิจารณญาณในการคัดกรองข้อมูล มีศักยภาพการสื่อสารในสถานการณ์ที่หลากหลาย ออกแบบสื่อ นำเสนออย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
- PLO6: สามารถจัดการศึกษา บริหารและพัฒนาหลักสูตร บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) สำหรับผู้เรียนที่หลากหลาย (Learning for all) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 250,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000.- บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 146 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
| | |
2. หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า | 110 หน่วยกิต |
| 1) วิชาชีพครู | 41 หน่วยกิต |
| 2) วิชาเอกบังคับ | 60 หน่วยกิต |
| 3) วิชาเอกเลือก | 9 หน่วยกิต |
| | | |
3. หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า | 6 หน่วยกิต |
| | | |
ข้อมูลอ้างอิง
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 2 ก.ค. 64