หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา

ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in Chinese Studies

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (จีนศึกษา)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (จีนศึกษา)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (Chinese Studies)
ชื่อย่อ : B.A. (Chinese Studies)

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา มุ่งสร้างบุคลากรด้านจีนศึกษาที่มีความรอบรู้เรื่องจีนในด้านภาษา ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างลึกซึ้งและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีความพลิกผัน หลักสูตรฯจึงได้นําปรัชญาการศึกษาของสถาบัน ที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)  ซึ่งเป็นปรัชญาการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยผู้สอนมีการจัดสภาพการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการศึกษาของผู้เรียน ให้อิสระ เสรีภาพในการเรียน การค้นคว้า การวิจัย คํานึงถึงความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนในการนําองค์ความรู้จากหลักสูตรฯ สู่การปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาและจัดการองค์กรได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถติดต่อประสานงานระหว่างบุคคล หรือองค์กร ในบริบทพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้

  1. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีด้านจีนศึกษา และบูรณาการองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาสู่การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
  2. มีความสามารถในการใช้ทักษะภาษาจีนและเทคโนโลยีร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อการสื่อสารและประสานงานในหน่วยงานระหว่างประเทศ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการจัดการองค์กรภายใต้บริบทพหุวัฒนธรรมได้อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
  3. มีจริยธรรมทางสังคมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการสร้างสรรค์ผลงานและการทำวิจัยด้านจีนศึกษา
  4. มีความสามารถในการนำเสนอองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาได้อย่างเป็นระบบ และกล้าแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ได้อย่างสมเหตุสมผล  

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา มุ่งส่งเสริมความเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตจีนศึกษาในด้านความสามารถในการนำเสนอองค์ความรู้ด้านจีนศึกษา และความกล้าในการแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ ร่วมกับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงานจริง ครอบคลุม  ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้เทคโนโลยี และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น 

  1. บุคลากรการต่างประเทศทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
  2. นักวิชาการ และนักวิจัยด้านจีนศึกษา
  3. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ล่าม นักแปล นักเขียน มัคคุเทศก์

  1. บุคลากรในตำแหน่งประสานงานระหว่างประเทศ ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ
  2. นักวิชาการ และนักวิจัยด้านจีนศึกษา
  3. ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับจีน 

  • PLO1: ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีและองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาในการประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
  • PLO2:  วิเคราะห์องค์ความรู้ด้านจีนศึกษาในการร่วมสร้างสรรค์ผลงานและการทำวิจัยได้ 
  • PLO3: ใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารและประสานงานระหว่างบุคคล หรือองค์กร ในบริบทพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PLO4:  ใช้เทคโนโลยีในการจัดการองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาและการจัดการองค์กรได้อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
  • PLO5: ปฏิบัติตามจริยธรรมทางสังคมและจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างเคร่งครัด 
  • PLO6: นำเสนอองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาที่ทันต่อเหตุการณ์และเป็นระบบ
  • PLO7: กล้าแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ในประเด็นด้านจีนศึกษาได้อย่างสมเหตุสมผล 

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 304,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 38,000.- บาท

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
   
2. หมวดวิชาเฉพาะ 99 หน่วยกิต
  - กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 30 หน่วยกิต
  - กลุ่มวิชาชีพบังคับ 57 หน่วยกิต
  - กลุ่มวิชาชีพเลือก 12 หน่วยกิต
       
3. หมวดเลือกเสรี 6 หน่วยกิต